“Catenary Arch” ประติมากรรมก้าวข้ามขีดจำกัดของงานดีไซน์
“Catenary Arch” ประติมากรรมก้าวข้ามขีดจำกัดของงานดีไซน์
“Catenary Arch” ประติมากรรมก้าวข้ามขีดจำกัดของงานดีไซน์
ด้วย “CPAC 3D Printing Solution” ในงาน Bangkok Design Week 2024
เปิดศักราชใหม่เอาใจสายอาร์ตผู้ชื่นชอบงานสถาปัตยกรรม ที่ครั้งนี้ “CPAC Green Solution” ผู้นำด้านนวัตกรรมก่อสร้างเพื่อสิ่งแวดล้อม ตอกย้ำแนวคิดการดำเนินงาน “A PART OF YOUR SUCCESS: เคียงข้างทุกความสำเร็จ ของคุณ” ร่วมกับ คุณเศณวี ชาตะเมธีวงศ์ และ คุณพชร เรือนทองดี สถาปนิกและผู้ร่วมก่อตั้งจาก “ดีไซร์ซินธีซิส” เนรมิต “Catenary Arch : ซุ้มคาเทนารี” แลนด์มาร์คสุดปังพื้นที่สำหรับนั่งพักผ่อนหย่อนใจของคนเมือง พร้อมทั้งนำมาให้ยลโฉมเป็นที่แรกในงาน Bangkok Design Week 2024 (BKKDW2024)
สำหรับ “Catenary Arch : ซุ้มคาเทนารี” นับเป็นผลงานชิ้นเอกที่ก้าวข้ามขีดจำกัดของงานดีไซน์ไปอีกขั้น กับการผสมผสานระหว่างงานประติมากรรมและงานวิศวกรรมโครงสร้างเข้าไว้ด้วยกัน ผนวกด้วยนวัตกรรม CPAC 3D Printing Solution การก่อสร้างขึ้นรูปคอนกรีต 3 มิติ ร้อยเรียงเส้นสายต่อกันเป็นชั้นๆ จนออกมาเป็นซุ้มประตูที่แสดงถึงการถ่ายแรงตามธรรมชาติที่สวยงาม โดดเด่น พร้อมทั้งยังใส่ใจสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้คอนกรีตสูตรรักษ์โลกอีกด้วย
นายเศณวี ชาตะเมธีวงศ์ Computational Design Director จาก ดีไซร์ซินธีซิส เผยว่า ทีมมีความสนใจในตัว 3D Printing อยู่แล้ว และปัจจุบันการก่อสร้างด้วย 3D Printing ในไทยยังเป็นพวกผนังตกแต่งเป็นส่วนใหญ่ ทางทีมเลยอยากท้าทายเพื่อสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ด้วยการนำนวัตกรรม CPAC 3D Printing Solution มาพัฒนาเป็นโครงสร้าง โดยประยุกต์ใช้ผนังรับน้ำหนัก (Bearing wall) ซึ่งรับแรงอัดได้อย่างเดียว มาพัฒนาให้สามารถใช้สร้างสถาปัตยกรรม ที่รับแรงอัดเป็นส่วนใหญ่ได้ เพื่อดึงความเป็นไปได้ของการพิมพ์คอนกรีต 3 มิติออกมาให้ได้มากขึ้น
“สำหรับการตีโจทย์ในครั้งนี้ ตั้งใจที่จะสร้างความท้าทายให้กับผลงาน โดยใช้วิธีการทำงานร่วมกันระหว่างคนกับเครื่องมือที่ผสานความเป็นสถาปนิกและวิศวกรเข้าด้วยกัน เริ่มตั้งแต่เรื่องของวัสดุและเครื่องมือ ที่ได้มีการทดสอบแรงและระบบการทำงานของ 3D Printer โดยพิจารณาคุณสมบัติของวัสดุและข้อจำกัดของเครื่องจักร ต่อมาคือลักษณะการถ่ายแรงของโครงสร้าง ซึ่งใช้โปรแกรม Dynamic Relaxation จำลองด้านวิศวกรรมหารูปทรงจากปัจจัยต่างๆ เช่น แรง คุณสมบัติของวัสดุ ฟังก์ชัน หรือข้อจำกัดอื่นๆ มาคำนวณเพื่อให้ได้รูปทรงเรขาคณิตที่แรงทั้งหมดภายในสมดุลกัน แล้วนำมาปั้นขึ้น 3D เพิ่มเข้าไป จนออกมาเป็นรูปทรง Catenary Arch ที่แสดงถึงการถ่ายแรงแบบที่มีแรงอัดที่มากพอจนโครงสร้างสามารถอยู่ได้ด้วยตัวเอง และสุดท้ายคือประโยชน์ใช้สอย เราได้นำ Hard matters เมืองดีต่อกาย หนึ่งในสามหัวใจหลักของงาน Bangkok Design Week 2024 มาเป็นแกนหลักในการคิดจนออกมาเป็นแลนด์มาร์คที่จะเชื่อมโยงผู้คน เพื่อให้เป็นจุดนัดพบและเป็นพื้นที่นั่งพักผ่อนหย่อนใจสำหรับทุกคน”
ด้านนายพชร เรือนทองดี Digital Fabrication Director จาก ดีไซร์ซินธีซิส เผยว่า สำหรับการพิมพ์ขึ้นรูปตัว Catenary Arch เราใช้ 3D Printing 6 แกน เป็นเครื่องมือในการรังสรรค์ขึ้นมา ซึ่งมีการใช้หัวพิมพ์ถึง 2 ลักษณะ ที่แตกต่างกัน โดยส่วนเก้าอี้นั่งด้านล่าง ชั้นคอนกรีตจะมีขนาดเล็กกว่าและมีลักษณะการเรียงเหมือนชั้นเค้กที่เรียง
ต่อๆ กัน และในส่วนที่เป็นโค้ง (Arch) ชั้นคอนกรีตจะมีขนาดใหญ่และแต่ละชั้นจะเอียงตามองศาของส่วนโค้งจนออกมาเป็นซุ้มประตูที่เรียงชั้นเป็นระเบียบอย่างสวยงาม ด้วยขนาด 3x3.5 เมตร สูง 2.7 เมตร และด้วยจุดเด่นของ CPAC 3D Printing Solution ด้วยระบบการทำงานในแบบดิจิทัล จึงทำให้มีความรวดเร็ว แม่นยำ ซึ่งสามารถช่วยลดระยะเวลา ลดเศษวัสดุเหลือใช้ (Waste) จากการดำเนินงาน อีกทั้งยังใช้คอนกรีตสูตรรักษ์โลกที่พัฒนาขึ้นมาโดยเฉพาะสำหรับลดการปล่อย CO2 ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่านวัตกรรม CPAC 3D Printing Solution รูปแบบใหม่ล่าสุด ชนิดสองส่วนผสม (3D printing mortar-2K) ร่วมกับหัวพิมพ์ชนิดพิเศษ (Advanced print head) ที่สามารถควบคุมระยะเวลาการแห้งตัวได้ตามต้องการ (Set-on-demand) และการใช้เครื่องพิมพ์ชนิด Robot printing ทำให้มีศักยภาพที่จะสร้างสิ่งก่อสร้างที่มีรูปทรงซับซ้อน มีความละเอียดของชิ้นงานที่มากขึ้น มีองศาในการพิมพ์ที่มากกว่าเดิม (>20 องศา) และมีระนาบในการพิมพ์ที่ไม่เป็นระนาบเดียวหรือที่เรียกว่า (Non-planar printing) ได้อย่างสวยงาม อีกทั้งยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
“ทั้งนี้ในฐานะนักออกแบบ ผมมองว่าเทคโนโลยี CPAC 3D Printing Solution นับเป็นเหมือนเครื่องมือชิ้นใหม่ที่สามารถสร้างชิ้นงานที่มีลักษณะเฉพาะตัวได้เป็นอย่างดี และมีศักยภาพในทุกๆ ด้านของงานคอนกรีต ไม่ว่าจะเป็นงานก่อสร้าง หรืองานตกแต่งก็ตาม ซึ่งในอนาคตผมเชื่อว่าเทคโนโลยี 3D Printing จะมีการใช้ในโครงการที่อยู่อาศัยมากขึ้น และจะเน้นไปทาง Mass Customization มากขึ้นด้วย อาทิเช่น การทำให้บ้านแต่ละหลังมีลักษณะเฉพาะตัว แต่ก็ยังมีรูปทรงที่เข้ากันได้ หรือมีผนังกันแดดที่สูงแตกต่างกันตามตำแหน่งที่ตั้งของอาคาร ฯลฯ โดยทั้งหมดนี้เทคโนโลยี 3D Printing สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ โดยไม่ต้องมีการเตรียมงานหน้างานเพิ่มเติมแถมยังสามารถลดการใช้ไม้แบบได้อีกด้วย”
มาร่วมสัมผัสสถาปัตยกรรมที่ก้าวข้ามขีดจำกัดของงานดีไซน์ด้วย “CPAC 3D Printing Solution” ได้ที่งาน Bangkok Design Week 2024 ณ ลานจตุรัสไปรษณีย์ อาคารไปรษณีย์กลาง ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 27 มกราคม – วันอาทิตย์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 11:00 - 22:00 น.